การทาน อาหารเพื่อสุขภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญ ต่อมนุษย์ โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ ที่มีการเสื่อมถอยของ ร่างกาย จึงต้องทานอาหารที่เหมาะสม และให้ได้รับ สารอาหาร ที่ครบถ้วน เพื่อให้มี สุขภาพดี
อาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุ ทานอย่างไรให้ สุขภาพดี?
สำหรับผลิตภัณฑ์เสริม อาหารเพื่อสุขภาพ ที่สามารถพบได้มากมาย แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่า แท้จริงแล้ว อาหาร จากธรรมชาติ ที่เรารับประทาน กันอยู่ทุกวัน สามารถปรับเปลี่ยนพียงเล็กน้อย ก็สามารถได้รับพลังงาน และ สารอาหาร ที่เพียงพอต่อ ความต้องการของ ร่างกาย ได้แล้ว อาหารเพื่อสุขภาพ แนวทางการรับประทานอาหาร สำหรับ ผู้สูงอายุ ที่เหมาะสม แบ่งตามหลักอาหาร ได้ดังนี้
หลักอาหาร 5 + 1 หมู่ สำหรับผู้สูงอายุ
อาหารหมู่ 1 เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว เต้าหู้ ควรเลือกรับประทาน โปรตีน จากเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม ถั่วและเต้าหู้ เพื่อให้ได้รับ กรดอะมิโน จำเป็นครบถ้วน และควรรับประทานเนื้อสัตว์ประมาณ 3 – 4 ผู้สูงอายุ จำเป็นต้องการ สารอาหาร จากกลุ่มนี้ มากกว่ากลุ่ม อื่น ๆ เพราะอาหารกลุ่มนี้ มีความจำเป็น ในการ ซ่อมแซม ทดแทน ส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกาย
- เนื้อสัตว์ ควรเป็น เนื้อปลา เพราะว่า เป็นสัตว์ที่ ย่อยง่าย ไขมันต่ำ และที่สำคัญ ควรเลือกก้าง ออกให้หมด
- ดื่มนม อย่างน้อย วันละ 1 แก้ว หากดื่มแล้ว ท้องเสีย ก็ลองเปลี่ยน เป็น นมถั่วเหลือง แทนก็ได้
- ไข่ไก่ - ไข่เป็ด อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 ฟอง สำหรับผู้ที่มี โรคประจำตัว อย่าง ไขมันในเลือดสูง และควรลดจำนวน หรือเลือกทาน เฉพาะไข่ขาว เท่านั้น
- ถั่วเมล็ดแห้ง ราคาไม่แพง แถมยังให้ สารอาหาร ที่สูง และใช้แทน ประเภท เนื้อสัตว์ อาทิเช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น
อาหารหมู่ที่ 2 ไขมัน ผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่ มักจะมีปัญหาเรื่องของ ไขมันในเลือดผิดปกติ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของ โรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ ฉะนั้นการเลือกรับประทานไขมัน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ อย่างยิ่ง และควรเลือกรับประทานอาหาร ที่มี ไขมันไม่อิ่มตัว อาทิเช่น ปลาทะเล น้ำมันพืช ( อย่างเช่น น้ำมันรำข้าว หรือ น้ำมันถั่วเหลือง ) และ ถั่วเปลือกแข็ง และควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว อาทิเช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ไขมันทรานส์ และกะทิ เป็นต้น
อาหารหมู่ที่ 3 ข้าว แป้ง น้ำตาล ควรเลือกรับประทาน คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน อาทิเช่น ข้าวกล้อง ข้างซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอรี่ ธัญพืชไม่ขัดสี หรือ ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น เนื่องจาก คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มี ใยอาหาร ที่ช่วยในการ ชะลอการ ดูดซึมน้ำตาล ได้ อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยง การรับประทาน เครื่องดื่ม ที่มีรสชาติหวาน ที่ไม่ว่าจะมาจาก น้ำตาลทรายขาว น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำเชื่อม ต่าง ๆ เพราะว่าการดื่ม น้ำหวาน นั้น จะเพิ่มความเสี่ยง ในการเป็น โรคเบาหวาน ได้นั้นเอง
อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ การรับประทาน ผลไม้ ให้หลากหลาย ชนิด ใน ผู้สูงอายุ สามารถรับประทาน ได้ทุกวัน ผลไม้ จะมี เส้นใยอาหาร ที่จะช่วยให้ ระบบขับถ่าย ดีขึ้น เน้น ผลไม้ ที่เนื้อนุ่ม เคี้ยวง่าย อาทิเช่น มะละกอสุก กล้วยสุก ส้ม เป็นต้น และสำหรับผู้ที่มี โรคเบาหวาน หรือ โรคอ้วน ก็ไม่ควรกิน ผลไม้ ที่มีรสจัด อาทิเช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน เป็นต้น
อาหารหมู่ที่ 5 ผัก มี ใยอาหารสูง ที่ช่วยในการขับถ่าย อีกทั้งยังช่วยป้องกัน โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อีกด้วย องค์การอนามัยโลก จึงแนะนำให้รับประทาน ผัก และ ผลไม้ อย่างน้อย 400 กรัม ต่อวัน หรือ ผัก 3 ทัพพี ผลไม้ 2 จานเล็ก เพื่อให้ได้รับ ใยอาหาร ที่เพียงพอต่อ ร่างกาย และยังช่วยป้องกันโรค ได้ อีกด้วย
อาหารหมู่ที่ 6 น้ำ การดื่มน้ำเปล่า ในปริมาณที่เหมาะสมต่อ ร่างกาย 6 – 8 แก้ว ต่อวัน จะช่วยในการ ดูดซึม วิตามิน ต่าง ๆ ที่ละลายในน้ำ ได้ อาทิเช่น วิตามินบี วิตามินซี ที่ช่วยในการทำงาน ของอวัยวะต่าง ๆ ใน ร่างกาย อีกทั้งยังมีส่วนช่วย ในการ ขับถ่าย อีกด้วย
ฉะนั้นด้วยวัยของ ผู้สูงอายุ ที่มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีความจำเป็น และใส่ใจใน สุขภาพ จึงควรเลือกทานอาหารที่มี ประโยชน์ อย่างการทาน อาหารเพื่อสุขภาพ ที่มี สารอาหาร ครบถ้วน เพื่อให้มี สุขภาพ ร่างกาย ที่ดี
Tag :
บทความที่แนะนำ