ปฏิเสธไม่ได้เลย ว่า อาหารการกินต่าง ๆ นั้น ส่งผล ต่อสุขภาพ ซึ่งวันนี้มาดู แนวคิดดี ๆ กับ อาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อร่างกาย ของทุกคน ทานให้เป็น ก็ห่างไกลโรคได้
โดยปัจจัยต่าง ๆ ในการสร้างเสริมสุขภาพ อันเป็นที่ยอมรับกันแล้ว ว่าประกอบด้วย อาหาร และ โภชนาการต่าง ๆ รวมทั้ง การออกกำลังกาย การผ่อนคลาย การคลายเครียด การพักผ่อนที่เพียงพอ และยังรวมไปถึง การหลีกเลี่ยงสารพิษ ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่, เหล้า, สารพิษต่าง ๆ มากมาย ที่ปนมากับอาหาร และสิ่งแวดล้อม จากการที่สภาพ ของความเป็นอยู่ ที่ได้เปลี่ยนไป จนทำให้วิถีการดำเนินชีวิต ของผู้คนในยุคนี้ นั้นแตกต่างจากยุคก่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของ การลดความเคลื่อนไหว และใช้เทคโนโลยี ที่มากขึ้น
ในขณะเดียวกันนั้น รูปแบบ ของการได้รับอาหารต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป ความเข้าใจ ในการเลือก บริโภคอาหาร เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี นั้นจึงเป็นสิ่ง ที่มาต้องทำ ความเข้าใจ ในเรื่อง การทาน อาหารเพื่อสุขภาพ ถึงขึ้นพื้นฐาน ความต้องการ และในเรื่อวของ การนำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ ต่อร่างกาย ก่อนอื่นเลย ควรทำ ความเข้าใจ ในความหมาย ของอาหาร และโภชนาการอาหาร ว่านั่น คือสิ่งที่ บริโภค เพื่อให้เกิดประโยชน์ ต่อร่างกาย
โดยโภชนาการ ที่จะกล่าวถึง ขบวนการที่อาหาร ที่ผ่านการย่อย การดูดซึม และการนำไปใช้ การเก็บในร่างกาย และการขับออก ไปภายนอกร่างกาย เพราะฉะนั้น โภชนาการ จึงได้เกี่ยวข้อง กับความสัมพันธ์ ของสารอาหาร กับการทำงาน ภายใน ของร่างกาย การป้องกัน รวมไปถึง รักษาโรค การชะลออาการ ของการเกิดโรคตา่ง ๆ รวมถึง พฤติกรรม ของ การบริโภค ดังคำกล่าวที่ว่า “You are what you eat” นี้ จึงเป็นข้อความ ที่ได้บอก ถึงความสัมพันธ์ ของอาหาร ที่ได้บริโภค กับผลที่ จะเกิดในร่างกาย
สารอาหาร และสารพลังงาน ที่ร่างกายได้รับ
ซึ่งการเลือกอาหาร ก็ขึ้นกับความชอบเฉพาะตัว ที่ถูกสร้างสมมา จากการเลี้ยงดู ภายในครอบครัว สิ่งแวดล้อม อาหารตามกระแส และแฟชั่นต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม แนวคิดต่าง ๆ ในการเลือกอาหาร ก็ควรคำนึงถึง ความพอเพียง สมดุลของสารพลังงาน ที่เหมาะสมต่อร่างกาย และความหลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหาร ที่ครบตามความต้องการ ของร่างกาย จากปัจจัยดังกล่าว จำเป็นต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้มั่นใจว่า เราจะได้ โภชนาการ อย่างเหมาะสม สารอาหารที่กล่าวถึง นั่นก็คือ สารเคมี ที่สามารถพบในอาหาร อาทิ คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน, เกลือแร่, วิตามิน และนํ้า
โดยที่กล่าวมา ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ ก็คือ ธาตุคาร์บอน, ไฮโดรเจนม ออกซิเจน และไนโตรเจน ส่วนธาตุปริมาณน้อยในร่างกาย ซึ่งพบว่ามีความจำเป็นอย่างมาก ต่อการทำงาน ของเซลล์ร่างกายมีมากมาย อาทิ แคลเซียม เหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม เป็นต้น เพราะฉะนั้น องค์ประกอบ หลัก ๆ ของอาหาร ที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย จึงได้จาก “สารพลังงาน” ที่มาจากสารอาหาร คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน นั่นเอง
หน่วยพลังงานที่ได้ จากอาหาร : กิโลแคลอรี / กิโลจูล
โดยการวัดพลังงาน แต่เดิมนั้นเป็นการวัดความร้อน ที่ได้เกิดขึ้นจากการเผาผลาญอาหารใน ร่างกายจึงสามารถใช้หน่วยเป็นกิโลแคลอรี่ โดยความหมายของกิโลแคลอรี่ นั่นก็คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้ นํ้า 1 กิโลกรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส และภายในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการปรับเปลี่ยน ของหน่วยวัดพลังงานในรูปของกิโลจูล ในความหมายก็คือ ปริมาณพลังงานที่ได้จากการเคลื่อนน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เป็นระยะทาง 1 เมตร โดยการใช้แรง 1 นิวตัน ซึ่งมีความพยายามจะปรับเปลี่ยน การใช้จากกิโลแคลอรีมาเป็นกิโลจูลในแวดวงโภชนาการ อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ของกิโลแคลอรี่กับจูล ก็คือ
1 กิโลแคลรี่( kcal ) = 4.184 กิโลจูล ( kJ )
1 เมกะจูล ( MJ ) = 1,000 จูล
1 เมกะจูล ( MJ ) = 240 กิโลแคลอรี่
และนี่ก็เป็น แนวคิดดี ๆ กับ อาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อร่างกาย ของทุกคน ที่เราได้นำมาฝาก หวังว่าทุกท่าน จะเข้าใจในเรื่องของการอาหารเพื่อสุขภาพได้อย่างมากขึ้น
อ่านบทความเพิ่มเติม
Tag :
บทความที่แนะนำ