เล่นโยคะหลังตั้งครรภ์
หลังจาก 9 เดือนของ การตั้งครรภ์ กิจกรรมที่ช่วยให้คุณกลับมามีรูปร่างเหมือนเก่า สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ควรคิดถึง คือ ร่างกายหลังคลอดของคุณ อาจแตกต่างจาก ร่างกายก่อนตั้งครรภ์ได้มาก คุณควร เริ่มออกกำลังกาย จากร่างกาย ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ร่างกายที่เคยมีเมื่อ 9 เดือนก่อน
คนท้องเริ่มเล่น โยคะ ( Yoga ) อย่างไรดี ?
สำหรับผู้ที่ไม่เคยเล่น โยคะ ( Yoga ) มาก่อน ควรเริ่มเรียนรู้การทำท่าทางต่าง ๆ ให้ถูกต้องภายใต้การดูแลของผู้สอนอย่างใกล้ชิด ซึ่งผู้เรียนควรพิจารณาเลือกคลาสเรียน โยคะ ( Yoga ) คนท้องจากหลาย ๆ องค์ประกอบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกสะดวกสบาย และไม่อึดอัดระหว่างการเรียน เช่น ชนิดของ โยคะ ( Yoga ) แนวทางการสอน ขนาดของห้องเรียน จำนวนผู้เรียน และสภาพแวดล้อมโดยรวม เป็นต้น
แต่หากเคยเล่น โยคะ ( Yoga ) มาก่อน หรือคุ้นเคยกับการเล่น โยคะ มาพอสมควรแล้ว อาจศึกษาการเล่น โยคะ คนท้องด้วยตนเอง ที่บ้านได้จากหนังสือหรือวิดีโอที่มีคำอธิบายอย่างละเอียดชัดเจน
คำแนะนำการเล่น โยคะ ( Yoga ) สำหรับคนท้อง
คำแนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการเล่น โยคะ ( Yoga ) ในเบื้องต้น มีดังนี้
- ปรึกษาแพทย์ หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเล่น โยคะ ( Yoga ) เสมอ เนื่องจากผู้ที่มีอายุครรภ์ใกล้คลอด หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหลังหรือโรคหัวใจ อาจไม่สามารถเล่น โยคะ ( Yoga ) คนท้องได้
- ตั้งเป้าหมาย ผู้ที่ตั้งครรภ์ ควรออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาที / วัน หรืออาจน้อยกว่านั้น ซึ่งล้วนแต่เป็นผลดีต่อสุขภาพตน และทารกในครรภ์ทั้งสิ้น เพราะอาจเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมให้ร่างกายก่อนคลอดได้ด้วย
- ค่อยเป็นค่อยไป ระหว่างการตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่ควรระมัดระวังการเคลื่อนไหวท่าทางต่าง ๆ ให้มาก ควรขยับเปลี่ยนท่าอย่างช้า ๆ ไม่เล่นท่าที่ อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ และสังเกตสัญญาณที่ บ่งบอกว่าร่างกายหักโหมจนเกินไป เช่น ไม่สามารถพูดคุยได้ตามปกติระหว่างเล่นโยคะคนท้อง
- รักษาอุณหภูมิ และสมดุลน้ำในร่างกาย หลีกเลี่ยงการ ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป ควรเล่น โยคะ ( Yoga ) คนท้องในบริเวณที่ อากาศถ่ายเทสะดวก และไม่ร้อน รวมถึง ดื่มน้ำปริมาณมาก ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเล่น โยคะ
ควรเล่น โยคะ ( Yoga ) คนท้องนานแค่ไหน ?
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพประเทศไทยแนะนำว่า ผู้ที่ตั้งครรภ์ควรทำกิจกรรมทางกายอย่างเหมาะสมอย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์ หรืออาจบ่อยกว่านั้น เพราะจะยิ่งส่งผลดีต่อสุขภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่เล่น โยคะ ( Yoga ) คนท้องควรเริ่มจากระดับเริ่มต้นก่อน ไม่หักโหมจนเกินไป และอาจค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาในการเล่นจนถึง 30 นาที/วัน
ข้อควรระวังในการเล่น โยคะ ( Yoga ) สำหรับคนท้อง
การเล่น โยคะ คนท้องมีข้อควรระวัง เช่นเดียวกับ การออกกำลังกาย แบบอื่น ๆ หากเล่นไม่ระมัดระวังหรือหักโหมจนเกินไป อาจได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดอันตรายต่อตนเอง และทารกในครรภ์ได้ ข้อควรระวังในการเล่นโยคะคนท้องมี ดังนี้
- ห้ามทำท่าที่ต้องทรงตัวโดยใช้ศีรษะและหัวไหล่ การทรงตัวในแนวตั้งที่ใช้ศีรษะ และมือทั้งสองข้างดันพื้นเพื่อรับน้ำหนักตัวแทนขาจะเสี่ยงต่อการเป็นลมหรือล้มลง จนอาจเกิดอันตรายต่อหญิงที่ตั้งครรภ์ และทารกได้
- หลีกเลี่ยงท่าที่ต้องยืดกล้ามเนื้อหน้าท้องมาก ไม่ยืดเหยียดในท่าที่อาจทำให้เจ็บกล้ามเนื้อ และรู้สึกไม่สบายตัว เช่น การบิดตัว การโค้งตัวไปข้างหน้า และข้างหลัง
- หลีกเลี่ยงท่านอนราบ ไม่ควรนอนราบเกิน 1 นาที และควรพลิกตัวพัก ครั้งละ 30 วินาที ทุกครั้งที่ต้องอยู่ในท่านอนราบ โดยเฉพาะช่วงหลังจากไตรมาสแรก เพราะท้องที่โตขึ้นอาจกดทับเส้นเลือดที่เข้าสู่หัวใจ ทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรือหายใจไม่อิ่ม
- หลีกเลี่ยงการเล่น โยคะ ( Yoga ) คนท้องในที่ร้อน ผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่ควรเล่น โยคะ ( Yoga ) ร้อน หรือเล่นโยคะคนท้องในห้องที่มีอุณหภูมิสูง เพราะอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพจากอุณหภูมิที่ร้อนเกินไป
- อย่าหักโหมจนเกินไป ควรเริ่มต้นเล่น โยคะ ( Yoga ) คนท้องอย่างช้า ๆ หลีกเลี่ยงท่าที่ทำให้ไม่สบายตัว หรือท่าที่ยากเกินความสามารถ และควรสังเกตสภาพร่างกายตนเองเสมอ หากมีอาการเจ็บปวดหรือสัญญาณอันตรายต่าง ๆ ระหว่างเล่น โยคะ เช่น ทารกเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือมดลูกหดรัดตัว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
เมื่อคุณมีทารก คุณมักจะต้องอุ้มไว้ที่สะโพก หรือที่หน้าอก ตลอดเวลา ขณะที่ต้องเลี้ยงลูก แต่คุณสามารถจัดการให้ ผู้อื่นมาดูแลลูกแทนคุณ ในบางชั่วโมง และออกมาเรียนโยคะ ด้วยตัวคนเดียว ก็อาจจะทำให้คุณรู้สึกมีความสุขขึ้นได้ เช่นเดียวกับการไปสปาพักผ่อน เพื่อให้คุณสามารถดูแลร่างกายและจิตใจของตนเอง 1 - 2 ครั้งต่อสัปดาห์
ด้วยความปรารถนาดีจาก kleens อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
ขอบคุณข้อมูลจาก eclipsestudiobkk
Tag :